อาหารปลอดภัย
การเลือกอาหารนอกจากจะคำนึงถึงคุณค่าอาหาร ปริมาณอาหารและยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยอาหารที่เรารับประทานเข้าไป อาหารที่ไม่สอาดอาจจะมีการปนเปลื้อนของ สารเคมี เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ทำให้เกิดโรคต่างๆมากมายซึ่งหากเป็นมากอาจจะทำให้เสียชีวิตได้
คำแนะนำ
- ท่านสามารถอ่านเรื่องวิธีการทำอาหารอย่างปลอดภัยได้ที่นี่ครับ
- การทำอาหารให้สอาดมีกระบวนการใหญ่ๆดังนี้ครับ
- การล้างเป็นวิธีการที่ได้ผลดี ควรล้างมือ ล้างผักและผลไม้ ไม่ควรล้างพวกเนื้อสัตว์
- การแยกควรแยกอาหรสดออกจากอาหารที่ปรุงเสร็จ หรืออาหารที่พร้อมรับประทาน
- การปรุง ควรใช้อุณหภูมิให้สูงพอ และเวลานานพอที่จะทำให้อาหารสุกและฆ่าเชื้อโรค
- การแช่ อาหารที่อาจจะเกิดการบูดเน่าควรจะแช่ในตู้เย็น การละลายควรจะละลายในตู้เย็น
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารสุกๆดิบๆ นมที่ไม่ได้ผ่าการฆ่าเชื้อโรค
- เด็ก คนท้อง คนสูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องควรรับประทานอาหารที่สุกแล้วเท่านั้น
การล้างมือ
- ล้างมือด้วยน้ำสอาดจะเปียก
- ใส่สบู่
- ฟอกมือให้สอาดประมาณ 20 วินาที
- ล้างมือด้วยน้ำสอาดโดยการเปิดก๊อกให้น้ำไหลผ่านมือ
- ใช้ผ้าสอาดเช็ดให้แห้ง
การล้างผักและผลไม้
- ปลอกเปลือกผักและผลไม้ให้หมด
- การล้างจะล้างก่อนรับประทานหรือก่อนการปรุงอาหารเท่านั้น
- การล้างจะล้างผ่านน้ำก๊อกที่มีน้ำไหล
- ใช้แปรงที่สอาดหรือใช้มือล้าง
- หลังจากนั้นใช้ผ้าที่สะอาดซับให้แห้ง การที่มีน้ำหลงเหลืออยู่จะทำให้เชื้อโรคเจริญ
การล้างเนื้อสัตว์
- ควรจะมีการแยกอาหารสดออกจากอาหารที่ปรุงเสร็จ
- ไม่ควรล้างเนื้อสัตว์ เพราะจะทำให้เชื้อที่อยู่ผิวกระจายไปยังโต๊ะปรุงอาหาร อ่างล้าง และอาหารที่อยู่ใกล้เคียง
- เชื้อโรคจะเจริญได้ดีที่อุณหภูมิ 40-140 องศาฟาร์เรนไฮต์ เพราะฉนั้นในตู้เย็นต้องมีอุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาฟาร์เรนไฮตส่วนการปรุงอาหารต้องมีอุณหภูมิสูงกว่า 140 องศาฟาร์เรนไฮต
การป้องกันอาหารเป็นพิษ
หลายคนมีอาการอาหารเป็นพิษ ซึ่งมีอาการปวดท้องคลื่นไส้อาเจียนและถ่ายเหลว และทบทวนว่าได้รับเชื้อจากที่ไหนเพราะอาหารก็ปรุงเองไม่ได้รับประทานนอกบ้านลองอ่านเรื่องนี้ท่านอาจจะค้นพบสาเหตุของอาหารเป็นพิษโดยเฉพาะกลุ่มที่เสี่ยงต่ออาหารเป็นพิษคือ คนท้อง คนแก่ คนป่วยและเด็ก
ท้องร่วงอาจจะหายเองได้โดยไม่ก่อให้เกิดปัญหาแต่สำหรับคนแก่หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอาจจะทำให้ไตวาย การเกิดท้องร่วงอาจจะเกิดจากได้รับเชื้อเข้าไปหรืออาจจะเกิดจากได้รับสารที่เชื้อผลิตออกมา วิธีป้องกันมีดังนี้
การเลือกซื้ออาหาร
- เมื่อซื้อนมให้ซื้อนมที่ผ่านการ pasteurized
- อาหารแช่แข็งต้องมีลักษณะเป็นของแข็งและต้องเย็น
- อย่าซื้ออาหารที่ภาชนะบรรจุภัณฑ์ชำรุจ
- นำอาหารเข้าตู้เย็นทันทีเมื่อถึงบ้าน
- เมื่อซื้ออาหารที่แช่แข็งต้องรีบนำเข้าช่องแช่แข็งทันที
- อย่าทิ้งอาหารไว้ในรถ
- หากต้องใช้เวลาเดินทางมากกว่าครึ่งชั่วโมงให้แช่ในน้ำแข็ง
การเตรียมอาหาร
- ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนทำอาหาร
- ล้างมีด เขียง อุปกรณ์เครื่องครัวทุกครั้ง และให้ล้างทันทีหลังจากใช้กับอาหารสดเช่นเนื้อ อาหารทะเล ไข่
- ให้ปรุงอาหารให้สุก
- อาหารแช่แข็งหากจะให้น้ำแข็งละลายให้ละลายด้วยตู้ microwavwหรือในตู้เย็น อย่าทิ้งไว้ในอากาศ
- อย่าทิ้งอาหารไว้นอกตู้เย็นเกิน 2-3 ชั่วโมง เมื่อไม่รับประทานให้เก็บไว้ในตู้เย็น
- เมื่อไม่แน่ใจว่าอาหารเสียหรือไม่ให้ทิ้ง
- การเตรียมอาหารควรแยกอาหารสดออกจากอาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว
- ปรับอุณหภูมิของช่องแช่แข็งที่ประมาณ 0-5 องศา
- ตรวจวันหมดอายุก่อนใช้ทุกครั้ง
- ล้างมือก่อนปรุงอาหาร หลังจากจับของสด และหลังเข้าห้องน้ำ
- ให้เลี้ยงสัตว์ห่างจากห้องครัว
- การเตรียมอาหารด้วยไมโครเวฟให้คนอาหารหรือกลับอาหารเมื่อเวลาผ่านไปครึ่งหนึ่ง
หลักการง่ายๆก็ทำให้ท่านปลอดจากท้องร่วง สำหรับท่านที่รับประทานอาหารนอกบ้านท่านต้องเลือกร้านที่ให้ความสำคัญกับความสะอาด พนักงานสะอาด อาหารร้อนต้องรับประทานร้อนๆ อาหารเย็นต้องเย็น ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ และให้สั่งอาหารที่ต้องปรุงใหม่